โขนนั้นมีมากมายหลายประเภท บางคนอาจจะสับสนว่าแต่ละประเภท มีการแต่งกายยังไง มีวิธีแสดงอย่างไร งั้นเราไปดูรายละเอียดพร้อมๆกันเลยค่ะ ^^
ประเภทวิวัฒนาการของโขน
จากการค้นคว้าของธนิต อยู่โพธิ์ทำให้เราได้ทราบถึงวิวัฒนาการของโขน โดยแบ่งเป็นประเภทในยุคหลังได้ดังนี้
1.โขนกลางแปลง คือ โขนที่เกิดขึ้นในยุคแรก เล่นกันกลางสนามเหมือนชักนาคดึกดำบรรพ์ กล่าวคือ แสดงบนพื้นดินกลางสนาม ไม่ปลูกโรงเล่น นิยมแสดงแต่ตอนยกทัพมารบกันระหว่างฝ่ายพลับพลากับฝ่ายลงกา โขนกลางแปลงมีปรากฏในพงศวดารว่า เมื่อ พศ 2339 ได้จัดให้แสดงครั้งหนึ่งในงานฉลองพระอัฐฺสมเด็จพระปฐมบรมชนกธิราชโดยจับตอนสิบขุนสิบรถ
2.โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว คือ เป็นโขนที่จัดแสดงบนโรงไม่มีเตียงสำหรับตัวนายโรงนั่ง มีราวพาดตามส่วนยาวของโรง ตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราว ตัวโรงมักมีหลังคา เมื่อตัวโขนแสดงบทบาทของตนไปแลเวก็ไปนั่งประจำที่บนราวสมมุติเป็นเตียงหรือที่นั่งประจำตำแหน่ง ไม่มีขับร้อง มีแต่เสียงพากท์และเจรจา การบรรเลงหน้าพาทย์ต้องใช้วงปี่พาทย์ถึง 2 วง
3.โขนหน้าจอ คือ โขนที่เล่นตรงหน้าจอใหญ่ สือเนื่องมาจากการเล่นหนังใหญ่แต่เดิม ลักษณะจอหนังเมื่อนำมาใช้แสดงโขน ก็มีการพัฒนาโดยนิยมทำเป็นจอแขวะ ตือ เจาะทั้งสองข้างจอทำเป็นช่องประตูเข้าออก วาดรูปเป็น้มประตูด้านขา ของผู้ดู วาดเป็นรูปปราสาทราชวังสมมุติเป็นกรุงมนิลา ด้านซ้ายวาดรูปเป็นค่ายพลับพลาของพระราม ด้านบนของจอวาดเป็นเมขลารามสูรและพระอาทิตย์พระจันทร์
4.โขนโรงใน คือ โขนที่ได้รับการปรับปรุงผสมผสานกับการแสดงละครในอาจสืบเนื่องมาจากการคลุกเคล้าปะปนกันของศิลปะการแสดงหน้าจอใหญ่ การแสดงออกมีทั้งการเต้น บทพากท์ บทเจรจา ตามแบบโขน และมีเพลงขับร้อง
5.โขนฉาก คือ ศิลปะการแสดงหรือมหรสพต่างๆของไทย ซึ่งรวมแล้วโขนตั้งแต่ดั้งเดิมด้วยนั้นจะไม่มีการสร้างฉากประกอบเรื่อง การแสดงจะดำเนินเรื่องติดต่อกันไป โดยผู้ดูต้องจินตนาการภาพเอาเอง การจัดฉากที่ได้มาจากตะวันตก โขนฉากจึงเกิดขึ้นเมื่อราวสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการคิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้นคล้ายกับละครดึกดำบรรพ์
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ พอจะคลายความสงสัยกันไปได้ไหมเอย ว่าโขนของเรานั้นมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทเป็นยังไงบ้าง เดี๋ยวในครั้งหน้าจะแก้ไขข้อสงสัยเรื่องอะไรนั้น รอติดตามอ่านกันนะค่ะ :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น